🙇ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก "ระบบต่างๆในร่างกาย"
👉เว็บบล็อกนี้เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับระบบต่างๆในร่างกายรวมไปถึงการทำงานของระบบต่างๆ ดังนี้
1.โครงสร้างระบบต่างๆในร่างกาย และระบบไหลเวียนโลหิต (Circulatory system)
2. ระบบย่อยอาหาร (Digestive system)
3. ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system)
4. ระบบผิวหนัง (Integumentary system)
5. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system)
6. ระบบประสาท (Nervous system)
7. ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system)
8. ระบบหายใจ (Respiratory system)
9. ระบบโครงร่าง (Skeleton system)
10. ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system)
11. ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system)
12. ระบบขับถ่าย (Excretory system)
👉ระบบอวัยวะในร่างกายคนเรา สามารถแบ่งตามหน้าที่ได้หลายระบบ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบย่อยอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบผิวหนัง ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ ระบบหายใจ ระบบโครงร่าง ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำเหลือง ระบบขับถ่าย โดยในการทำงาน ถ้าระบบใดระบบหนึ่งผิดปรกติ ร่างกายก็จะแสดงความผิดปรกติออกมา เช่น มีอาการ หรือเป็นโรค
1.ระบบไหลเวียนโลหิต (Circulatory system)
เมื่ออาหารถูกย่อยจนเล็กที่สุด แพร่เข้าสู่ผนังลำไส้เล็กและแพร่ผ่านเข้าสู่เส้นเลือดแล้วจะเคลื่อนที่ไปสู่ ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายพร้อมกับเลือด ระบบการหมุนเวียนเลือด มีอวัยวะสำคัญที่เกี่ยวข้องได้แก่ หัวใจ เส้นเลือด และเลือด
เลือด(Blood) ประกอบด้วย น้ำเลือด หรือพลาสมา(Plasma) และเม็ดเลือดซึ่งประกอบด้วยเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเซลล์เม็ดเลือดหรือเกล็ดเลือด(Platelet) เม็ดเลือดแดงมีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นโปรตีน และเหล็กมีชื่อเรียกว่า เฮโมโกลบิน ก๊าซออกซิเจน จะรวมตัวกับเฮโมโกลบินแล้วลำเลียงไปใช้ยังส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกาย เม็ดเลือดขาวซึ่งผลิตโดยม้าม จะทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย ส่วนเกล็ดเลือดจะเป็นตัวช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล น้ำเลือดประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 91 ที่เหลื่อเป็นสารอาหารต่าง ๆ เช่นโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ เอนไซม์ และก๊าซ
เส้นเลือด(Blood Vessel) คือท่อที่เป็นทางให้เลือดไหลเวียนในร่างกายซึ่งมี 3 ระบบ คือเส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำ และเส้นเลือดฝอย
หัวใจ(Heart) ตั้งอยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้งสองข้างเอียงไปทางซ้ายของแนวกลางตัว ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรงภายในมี 4 ห้อง
-หัวในห้องบนซ้าย(Left atrium) มีหน้าที่ รับเลือดที่ผ่านการฟอกที่ปอด
-หัวใจห้องบนขวา(Right atrium) มีหน้าที่ รับเลือดที่ร่างกายใช้แล้ว
-หัวใจห้องล่างขวา(Right ventricle) มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปฟอกที่ปอด
-หัวใจห้องล่างซ้าย(Left ventricle) มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
หน้าที่
การไหลเวียนของเลือดเริ่มโดยห้องบนขวารับเลือดดำที่ร่างกายใช้แล้ว ส่งไปยังห้องล่างขวา ห้องล่างขวาจะฉีดเลือดดำไปฟอกที่ปอด ในขณะเดียวกัน เลือดแดงที่ผ่านการฟอกจากปอดจะเข้าสู่หัวใจทางห้องบนซ้ายแล้วส่งต่อมายังห้องล่างซ้าย หัวใจก็จะฉีดเลือดแดงออกจากห้องล่างซ้ายเข้าสู่เส้นเลือดใหญ่ ซึ่งต่อมาก็แยกออกเป็นเส้นเลือดเล็ก และเส้นเลือดฝอย เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เลือดที่ใช้แล้วก็จะไหลกลับมาที่หัวใจทางห้องบนขวาอีก จะหมุนเวียนเช่นนี้ไปตลอดชีวิต
2. ระบบย่อยอาหาร (Digestive system)
เป็นระบบที่รวมอวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรับอาหาร การย่อยโดยแปรรูปอาหารให้เป็นสารอาหารที่จำเป็น และการดูดซึมสารอาหารเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกายรวมถึงการกำจัดเอากากอาหารที่ร่างกายไม่ใช้ออกจากร่างกาย ข้อมูลจาก American Society of Gastrointestinal Endoscopy (ASGE) กล่าวว่าระบบทั้งหมดนี้มีความยาวประมาณ 30 ฟุต (9 เมตร)
การย่อยอาหารมี 2 ขั้นตอน
การย่อยเชิงกล (Mechanical digestion) เป็นกระบวนการทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนที่และการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยการบดเคี้ยว รวมทั้งการบีบตัวของทางเดินอาหาร ทั้งนี้ในการย่อยเชิงกล โมเลกุลของอาหารยังไม่เล็กมากพอที่ร่างกายจะดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้
การย่อยทางเคมี (Chemical digestion) เป็นการย่อยโมเลกุลของอาหาร ได้แก่ คาร์ดบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ให้มีขนาดเล็กมากพอที่ร่างกายจะดูดซึมเอาไปใช้ได้ โดยการย่อยในขั้นตอนนี้ จะเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างโมเลกุลของอาหารกับน้ำ โดยมีเอนไซม์หรือน้ำย่อยเข้าเร่งปฏิกิริยา ส่วนเกลือแร่ และวิตามินจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง
หน้าที่
เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป อาหารจะถูกย่อยเชิงกลโดยฟัน และอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์อะไมเลส (Amylase) จากน้ำลาย ได้เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ อาหารในขั้นตอนนี้จะถูกกลืนผ่านคอหอยกลายเป็นอาหารรูปทรงกลมเล็ก ๆ ผ่านการบีบและคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหาร ที่กระเพาะอาหาร เอนไซม์เพปซิน (Pepsin) จะย่อยโปรตีนให้เป็นเพปไทด์ (Peptide) และเอนไซม์เรนนิน (Rennin) จะเปลี่ยนโปรตีนในน้ำนมให้อยู่ในรูปที่เอนไซม์เพปซินสามารถย่อยได้ การดูดซึมที่กระเพาะอาหารจะมีไม่มาก
3. ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system)
เป็นระบบส่งสารเคมีที่ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์สร้างและหลั่งฮอร์โมนแล้วส่งออกนอกเซลล์โดยผ่านระบบไหลเวียน ทั้งทางกระแสเลือดและน้ำเหลือง เพื่อควบคุมอวัยวะเป้าหมายในร่างกาย ต่อมไร้ท่อที่สำคัญในมนุษย์ ได้แก่ ต่อมไทรอยด์ และต่อมหมวกไต ในสัตว์มี่กระดูกสันหลัง ไฮโปทาลามัสเป็นศูนย์ควบคุมทางระบบประสาทของระบบต่อมไร้ท่อทั้งหมด การศึกษาของระบบต่อมไร้ท่อและความผิดปกติเรียกว่า วิทยาต่อมไร้ท่อ
หน้าที่
ต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่ในการสร้างและหลั่งฮอร์โมน ซึ่งมีผล 2 ประการคือ
1. ควบคุมอวัยวะ หรือเนื้อเยื่ออื่นๆ ของร่างกาย เช่น การเจริญเติบโต กระดูก เกลือแร่ และเมตะบอลิสึมต่างๆ
2. ควบคุมต่อมไร้ท่ออื่น ๆ เช่น ต่อมใต้สมองควบคุมต่อมหมวกไต ต่อมธัยรอยด์ รังไข่ อัณฑะ เป็นต้น
4. ระบบผิวหนัง (Integumentary system)
ผิวหนังประกอบไปด้วย 3 ส่วน
-หนังกำพร้า (Epidermis)
-หนังแท้ (Dermis)
-ชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat Layer)
หนังกำพร้า (Epidermis)
หรือเป็นที่รู้จักอีกชื่อว่า “ผิวหนังชั้นตื้น” หนังกำพร้าเป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของผิวหนังที่ปกคลุมไปเกือบทั้งหมดของร่างกาย หนังกำพร้านั้นไม่มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยง จึงต้องรับสารอาหารจากหนังแท้เท่านั้น ในชั้นหนังกำพร้ามีเซลล์ที่ชื่อ เมลาโนไซด์ (Melanocyte) มีหน้าที่ในการสร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ที่ทำให้สีผิวของแต่ละคนมีสีที่แตกต่างกัน และป้องกันอวัยภายใน
หนังแท้ (Dermis)
เป็นชั้นผิวหนังที่อยู่ถัดจากชั้นหนังกำพร้า มีความหนามากกว่าหนังกำพร้า ในชั้นหนังแท้จะประกอบไปด้วยโปรตีน 2 ชนิด ได้แก่ เนื้อเยื่อคอลลาเจน (Collagen) และเนื้อเยื่ออีลาสติน (Elastin) เนื้อเยื้อคอลลาเจนจะมีส่วนช่วยทำให้ผิวหนังแข็งแรง และช่วยในการซ่อมแซมผิวหนังที่สึกหรอ ซึ่งถ้าสร้างในปริมาณที่มากเกินไปก็จะเกิดเป็นแผล
ชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat Layer or Hypodermis)
มีอีกชื่อเรียกว่า “ชั้นไขมัน” ประกอบไปด้วยเซลล์ไขมันเป็นหลัก ชั้นใต้ผิวหนังแต่ละคนมีขนาดไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนปริมาณไขมันสะสมของคนแต่ละคน ชั้นใต้ผิวหนังทําหน้าที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยลดแรงกระแทกจากภายนอกอีกด้วย
หน้าที่
นอกจากจะมีหน้าที่ในการปกป้องร่างกายจากอันตรายภายนอก และขับถ่ายของเสียออกแล้ว ผิวหนังยังมีหน้าที่ในการรับความรู้สึกอีกด้วย โดยผิวหนังจะรับความรู้สึกแล้วส่งข้อมูลไปยังสมอง เพื่อให้สมองสั่งการให้ร่างกายตอบสนองอีกทีหนึ่ง นอกจากนี้ผิวหนังยังสามารถทำหน้าที่ดูดซึมสารบางชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้อีกด้วย เช่น ยาทาบรรเทาอากาศแก้ปวด อีกทั้งผิวหนังยังทำหน้าที่รายงานความผิดปกติของร่างกายอีกด้วย โดยจะแสดงออกมาให้เห็นได้ทางผิวหนัง เช่น อาการหน้าแดง ผืนแดงขึ้นเนื่องจากการแพ้ยาหรือการแพ้อาหาร
5. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system)
กล้ามเนื้อ (Muscle) เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
กล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle)
กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle)
กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)
หน้าที่
-คงรูปร่างท่าทางของร่างกาย (Maintain Body Posture)ยึดข้อต่อไว้ด้วยกัน (Stabilize Joints)
-ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว (Provide Movement) โดยการเปลี่ยนพลังงานที่ได้จากสารอาหารมาเป็นพลังงานกล(Mechanical Energy) หรือพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
-รักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย(Maintain Body Temperature) โดยผลิตความร้อนออกมาตามที่ร่างกายต้องการ
6. ระบบประสาท (Nervous system)
ระบบประสาท (Nervous system) เป็นระบบที่ควบคุมการทำหน้าที่ของทุกระบบในร่างกาย ให้ทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มาจากภายนอก และดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการจัดการ ความคิด ความรู้สึก สติปัญญา ความฉลาดไหวพริบ การตัดสินใจ การใช้เหตุผลและการแสดงอารมณ์
ระบบประสาทของสัตว์ชั้นสูงแบ่งตามการทำงานได้ 2 ระบบ คือ Somatic Nervous System ได้แก่ กล้ามเนื้อลาย และ Autonomic Nervous System ได้แก่ กล้ามเนื้อรอบ กล้ามเนื้อหัวใจและต่อมต่างๆ
เซลล์ประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ประกอบด้วย ตัวเซลล์ (Body) และใยประสาท (Fiber) ซึ่งแบ่งเป็ฯ Dendrite และ Axon
เซลล์ประสาทแบ่งเป็นประเภท โดยใช้เกณฑ์ต่างๆ ได้ดังนี้
แบ่งโดยใช้ขั้วเป็นเกณฑ์ได้ 3 แบบ คือ เซลล์ประสาทขั้วเดียว เซลล์ประสาทสองขั้ว และเซลล์ประสาทหลายขั้ว
แบ่งโดยใช้หน้าที่เป็นเกณฑ์ได้ 3 แบบ คือ sensory neuron, motor neuron และ interneuron
หน้าที่
ตอบสนองสิ่งเร้าที่มากระตุ้น, ควบคุมการทำงาน และควบคุมการทำ งานของอวัยวะต่าง ๆ
7. ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system)
เป็นแบบปฏิสนธิภายในร่างกาย โดยเพศชายจะหลั่งอสุจิจำนวนมากในช่องคลอดของเพศหญิง อสุจิจะเดินทางเข้าไปในมดลูก และท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับไข่ ภายหลังการปฏิสนธิ ตัวอ่อนจะมีการฝังตัวและเจริญเติบโตที่ผนังมดลูก โดยอยู่ในครรภ์ประมาณ 9 เดือน ในระหว่างนั้นต่อมน้ำนมจะทำการผลิตน้ำนม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการให้นมของเพศหญิง
ระบบสืบพันธ์ุเพศชาย
อวัยวะที่เกี่ยวข้อง
สามารถแยกออกเป็น 3 กลุ่มตามหน้าที่
- อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและเก็บอสุจิ ประกอบด้วย อัณฑะ (Testis) เป็นต่อมรูปไข่มี 2 ข้าง ภายในมีหลอดสร้างตัวอสุจิ (Seminiferous Tubule) ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (Sperm) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย ภายหลังการสร้างและพัฒนา อสุจิจะถูกส่งเข้าสู่หลอดเก็บตัวอสุจิ (Epididymis) ภายนอกอัณฑะ โดยอัณฑะจะถูกห่อหุ้มอยู่ในถุงหุ้มอัณฑะ (Scrotum) เพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างตัวอสุจิ โดยจะต่ำกว่าอุณหภูมิปกติของร่างกายประมาณ 3-5 องศาเซลเซียสนอกจากนี้อัณฑะยังสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหลัก ที่ช่วยกระตุ้นให้แสดงลักษณะต่าง ๆ ของเพศชาย เช่น มีกล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อกระดูกโครงร่างใหญ่ มีหนวดเครา มีขนดก เป็นต้น
- อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการสร้างของเหลวในการหลั่งอสุจิ และท่อนำอสุจิ ได้แก่ ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal vesicles) ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ รวมถึงการสร้างของเหลวมาผสมกับตัวอสุจิเพื่อให้เกิดสภาพที่เหมาะสมกับตัวอสุจิ ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland) ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนๆ เพื่อปรับสมดุลกรด-เบสในท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมกับตัวอสุจิ ต่อมคาวเปอร์ (Cowper Gland) อยู่ใต้ต่อมลูกหมาก ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศนอกจากนี้ยังมีหลอดนำอสุจิ (Vas deferens) อยู่ต่อจากหลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
- อวัยวะที่ใช้ในการร่วมเพศ จะเป็นอวัยวะเพศชายที่อยู่ภายนอก คือ องคชาต (Penis) ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของปัสสาวะและน้ำอสุจิ มีลักษณะเป็นท่อนยาว ประกอบไปด้วยส่วนของกล้ามเนื้อคล้ายฟองน้ำ (Corpus cavernosum) และส่วนของท่อปัสสาวะ โดยกล้ามเนื้อคล้ายฟองน้ำทำหน้าที่ในการกักเก็บเลือด ทำให้เกิดการแข็งตัวขององคชาต จนสามารถสอดใส่เข้าไปภายในช่องคลอดของเพศหญิงได้ ส่วนปลายขององคชาตจะบานออกเป็นรูปดอกเห็ด โดยมีเส้นประสาท และเส้นเลือดเป็นจำนวนมาก
ระบบสืบพันธ์ุเพศหญิง
อวัยวะที่เกี่ยวข้อง
อวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ส่วนใหญ่อยู่ภายในร่างกายบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยส่วนที่อยู่ภายในประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ รังไข่ (Ovary) ทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่ (Ovum) ซึ่งเป็นเวลล์สืบพันธ์เพศหญิงและผลิตฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) มดลูก (Uterus) เชื่อมกับรังไข่ต่อจากท่อนำไข่ มีหน้าที่รองรับการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ มดลูกส่วนที่ต่อกับช่องคลอดจะมีส่วนที่เรียกว่า ปากมดลูก ช่องคลอด (Vagina) เป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อกับมดลูก มีหน้าที่เป็นช่องทางให้อวัยวะเพศชายสอดใส่และรองรับอสุจิที่หลั่งขณะมีเพสสัมพันธ์ุรวมถึงการเป็นช่องทางคลอดออกสู่โลกของทารก
สำหรับอวัยวะเพศหญิงที่อยู่ภายนอก ประกอบด้วยแคมใหญ่ แคมเล็กและปุ่มคริสตอริส (Clitoris) ซึ่งปุ่มนี้จะมีเส้นประสาทอยู่เป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ในเพศหญิง จะมีการหลั่งเมือกจากต่อมบาร์โธลีน (Bartholin’s glands) ทำหน้าที่ช่วยในการหล่อลื่นและปรับลดความเป็นกรดในช่องคลอด
หน้าที่
เพศหญิงเมื่อเข้าอายุ 12 – 13 ปี ไข่จะเริ่มสุก แล้วตกจากรังไข่ เรียก การตกไข่ (Ovulation) โดยจะตกเดือนละ 1 ใบ สลับข้างกัน ไข่ที่ตกจะเคลื่อนเข้าสู่ท่อนำไข่ ระหว่างนั้นมดลูกจะเริ่มขยายขนาดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ทำให้ผนังมดลูกด้านในหนาตัวขึ้น และมีหลอดเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ ในกรณีที่ไข่ไม่ได้รับการผสมจะค่อยๆฝ่อตัวไป ทำให้หลอดเลือดฝอยบริเวณผนังมดลูกเกิดการสลายตัว เกิดเลือดหรือก้อนเลือดไหลผ่านช่องคลอดออกมา เรียก การมีประจำเดือน (Menstruation) ในขณะที่ผนังมดลูกค่อยๆกลับสู่ภาวะปกติ
8. ระบบหายใจ (Respiratory system)
กระดูกของมนุษย์มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
● สารอินทรีย์หรือส่วนที่มีชีวิตของกระดูก คือ เซลล์กระดูก เนื้อเยื่อประสาทและเส้นเลือดต่าง ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้กระดูกมีความเหนียวและยืดหยุ่น ทำให้กระดูกไม่เปราะบางและแตกหักได้ง่าย
● สารอนินทรีย์หรือส่วนที่ไม่มีชีวิตของกระดูก คือ สารประกอบแคลเซียมและโซเดียมจากเกลือแร่ต่าง ๆ ที่ทำให้กระดูกแข็งแรงและทนทาน
ในร่างกายขอมนุษย์ ระบบโครงร่างผ่านการวิวัฒนาการมาอย่างสลับซับซ้อน จากในระยะตัวอ่อน (Embryo) หรือในร่างกายของทารกแรกเกิดที่มีจำนวนกระดูกอยู่มากถึง 350 ชิ้น ซึ่งในภายหลังกระดูกแต่ละชิ้นจะเชื่อมต่อกัน เพื่อรองรับร่างกายที่เจริญเติบโตขึ้น จนกระทั่งถึงวัยผู้ใหญ่ ร่างกายของเราจะเหลือจำนวนกระดูกรวมกันทั้งหมด 206 ชิ้นเท่านั้น ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ
กระดูกแกน (Axial Skeleton) หมายถึง กระดูกที่เป็นแกนกลางของลำตัวมีอยู่ทั้งหมด 80 ชิ้น ประกอบด้วย
− กระดูกกะโหลกศีรษะ (Skull) 29 ชิ้น ทำหน้าที่ห่อหุ้มและปกป้องสมอง
− กระดูกสันหลัง (Vertebral Column) 33 ชิ้น (ในวัยเด็ก) หรือ 26 ชิ้น (ในวัยผู้ใหญ่) ทำหน้าที่ค้ำจุนและรองรับน้ำหนักของร่างกาย
− กระดูกทรวงอก (Thorax) 1 ชิ้นบริเวณสันอก (Sternum) และกระดูกซี่โครง (Rips) อีก 12 คู่ ทำหน้าที่รวมกับกล้ามเนื้อเพื่อช่วยในการหายใจและปกป้องอวัยวะภายในที่สำคัญ เช่น ปอดและหัวใจ
กระดูกรยางค์ (Appendicular Skeleton) หมายถึง กระดูกนอกเหนือไปจากบริเวณลำตัวมีอยู่ทั้งหมด 126 ชิ้น ประกอบด้วย
− กระดูกไหล่ (Pectoral Girdle) ทั้งหมด 4 ชิ้น ซึ่งประกอบด้วยกระดูกไหปลาร้า (Clavicle) กระดูกสะบัก (Scapula) ชนิดละ 2 ชิ้น ทำหน้าที่รองรับแขนและช่วยในการเคลื่อนไหว
− กระดูกแขน (Upper Extremities) ข้างละ 30 ชิ้น รวมทั้งสิ้น 60 ชิ้น ทำหน้าที่เป็นฐานเชื่อมโยงกับกระดูกอื่น ๆ ในร่างกาย
− กระดูกขา (Lower Extremities) ข้างละ 30 ชิ้น รวมถึงกระดูกเชิงกราน (Pelvic Girdle) และกระดูกสะโพก (Hip Bones) อีก 2 ชิ้น รวมทั้งหมด 62 ชิ้น
ข้อต่อ (Joints) คือ ส่วนของรอยต่อกระดูกที่เกิดจากการเชื่อมกันของกระดูกตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป โดยมีเอ็นและกล้ามเนื้อช่วยยึดเสริมความแข็งแรง ทำให้โครงกระดูกมีความยืดหยุ่นและสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้อย่างอิสระ
ในข้อต่อบางส่วนจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อ (Synovial Fluid) ทำหน้าที่หล่อลื่น เพื่อไม่ให้เกิดการเสียดสีที่รุนแรงและทำให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหว ในร่างกายของมนุษย์ ข้อต่อแต่ละข้อมีโครงสร้างลักษณะและหน้าที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม เช่น การงอ (Flexion) ของไหล่หรือข้อขา การเหยียด (Extension) ของข้อเขาและกระดูกสันหลังหรือการหมุน (Rotation) ของคอและข้อสะโพก เป็นต้น
หน้าที่
-ค้ำจุนโครงสร้างของร่างกายและทำหน้าที่รองรับอวัยวะต่าง ๆ ให้คงอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
-ป้องกันอวัยวะภายในร่างกายที่สำคัญ เช่น สมอง หัวใจ และปอด รวมไปถึงหลอดเลือดและเส้นประสาทที่ทอดยาวอยู่ภายในแนวกระดูก จากอันตรายและการกระทบกระเทือนต่าง ๆ
-เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว
-ผลิตเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ และยังเป็นแหล่งสำรองของแคลเซียมที่สำคัญ
10. ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system)
ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) คือ กลไกภายในร่างกายที่ทำหน้าที่ป้องกันและต่อต้านอันตรายจากสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่สามารถก่อให้โรคภัยไข้เจ็บ เมื่อเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ โดยเฉพาะเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงการทำหน้าที่ตรวจสอบและสร้างกลไกการตอบสนอง เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ ทำให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ
ระบบภูมิคุ้มกันสามารถจำแนกออกเป็น 2 ระบบ ดังนี้
-ระบบภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาแต่กำเนิด (Innate Immunity) หมายถึง ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ถูกสร้างขึ้นเองและติดตัวมาตั้งแต่เกิด เช่น ส่วนของผิวหนัง เยื่อบุ และเยื่อเมือกต่าง ๆ ซึ่งเป็นปราการด่านแรกในการป้องกันเชื้อโรค และเป็นภูมิคุ้มกันโรคที่ได้รับการถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม ซึ่งส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติต่อโรคบางชนิด เช่น โรคคอตีบ โรคหัด และไข้ทรพิษ ซึ่งคงอยู่ได้ราว 3 เดือน ดังนั้น ความสมบูรณ์ของร่างกายของแต่ละบุคคล ตลอดจนเชื้อชาติ เพศ และอายุ จึงมีผลต่อระดับของภูมิคุ้มกันโรคตามธรรมชาติระบบนี้
-ระบบภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาภายหลัง (Acquired Immunity) หมายถึง ระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานต่อเนื่องมาจากระบบภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาแต่กำเนิด เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมหรือการกระตุ้นจากวัคซีนต่าง ๆ เป็นระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะเจาะจงที่มีการจดจำลักษณะของสิ่งกระตุ้น และเมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจนชนิดเดิมอีกครั้ง จะสามารถทำการตอบสนองได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาภายหลังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย ดังนี้
-ภูมิคุ้มกันแบบเฉพาะเจาะจง (Adaptive Immunity) คือ กลไกการปรับตัวตามธรรมชาติจากการต่อต้านเชื้อโรค อาการเจ็บป่วย หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ เช่น ภูมิต้านทานไข้ทรพิษ หัด อีสุกอีใส และคางทูม เป็นต้น เป็นภูมิคุ้มกันโรคที่อาจคงอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งหรืออาจกลายเป็นภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคและความสมบูรณ์ทางร่างกายของแต่ละบุคคล
-ภูมิคุ้มกันจากภายนอก (Passive Immunity) คือ ระบบที่เกิดขึ้นจากการได้รับภูมิคุ้มกันมาจากภายนอกโดยที่ร่างกายไม่ได้สร้างขึ้นเอง เช่น การได้รับภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของทารกจากการดื่มน้ำนมแม่ รวมไปถึงการฉีดเซรุ่มและวัคซีนต่าง ๆ
หนึ่งในระบบการทำงานย่อยของระบบไหลเวียนโลหิต (Circulatory System) ที่มีหน้าที่ลำเลียงสารและเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสารและก๊าซต่าง ๆ พร้อมทั้งทำงานสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) โดยเฉพาะการทำหน้าที่เป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ และช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ภายในร่างกายของมนุษย์
โครงสร้างของระบบน้ำเหลืองประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้
อวัยวะน้ำเหลือง (Lymphatic/Lymphoid Organs) : คือ อวัยวะภายในที่มีหน้าที่สร้างเม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะลิมโฟไซต์ (Lymphocytes) และมีหน้าที่สนับสนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ตัวอย่างเช่น
● ต่อมไทมัส (Thymus Gland) และไขสันหลัง (Bone Marrow) คือ อวัยวะและเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่มีหน้าที่สร้างเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ ก่อนส่งเข้าสู่กระแสเลือด
● ต่อมน้ำเหลือง (Lymph nodes) คือ เนื้อเยื่อขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วร่างกายตามทางผ่านของหลอดน้ำเหลือง ทำหน้าที่กรองน้ำเหลือง กำจัดสิ่งแปลกปลอม และป้องกันการติดเชื้อของร่างกาย ดังนั้น เมื่อต่อมน้ำเหลืองเกิดการบวกหรืออักเสบจึงนับเป็นสัญญาณของการติดเชื้อภายในร่างกายนั่นเอง
● ม้าม (Spleen) คือ อวัยวะน้ำเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบริเวณใต้กะบังลม ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดต่าง ๆ และกำจัดเม็ดเลือดแดง รวมถึงเกล็ดเลือดที่หมดอายุ อีกทั้ง ยังมีหน้าที่คอยตรวจจับสิ่งแปลกปลอมที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดอีกด้วย
● ต่อมทอนซิล (Tonsils) ทั้ง 3 ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวจำนวนมาก มีหน้าที่กำจัดและตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่ผ่านเข้าทางเยื่อบุผิวของช่องปากและช่องจมูก
น้ำเหลือง (Lymph) : คือ ของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ในระบบ มีองค์ประกอบของโปรตีน น้ำ ไขมัน น้ำตาลกลูโคส และก๊าซต่าง ๆ เช่นเดียวกับของเหลวที่ไหลอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นของเหลวที่ซึมผ่านผนังเส้นเลือดฝอยออกมาอยู่ในช่องว่างเหล่านี้ เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการลำเลียงสารต่าง ๆ เข้าสู่เซลล์ นอกจากนี้ น้ำเหลืองยังทำหน้าที่ลำเลียงเซลล์เม็ดเลือดขาวไปยังจุดต่าง ๆ ภายในร่างกายอีกด้วย
หลอดน้ำเหลือง (Lymph Vessel) : คือ ท่อลำเลียงน้ำเหลืองที่มีลักษณะปลายตัน กระจายอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งนำน้ำเหลืองไหลผ่านต่อมน้ำเหลืองต่าง ๆ ก่อนเข้าสู่หัวใจ หลอดน้ำเหลืองมีลิ้นเปิดปิดที่ช่วยป้องกันการไหลย้อนกลับของน้ำเหลืองคล้ายกับหลอดเลือดดำ ระบบน้ำเหลืองไม่มีการสูบฉีดเช่นเดียวกับระบบไหลเวียนโลหิต ดังนั้น การไหลของน้ำเหลืองจึงเกิดจากการหดและคลายของกล้ามเนื้อโดยรอบหลอดน้ำเหลือง ส่งผลให้อัตราการไหลของน้ำเหลืองช้ากว่าการไหลเวียนของโลหิต
โดยปกติ จุดเริ่มต้นของการไหลเวียนน้ำเหลือง คือ ท่อขนาดเล็กหรือหลอดน้ำเหลืองฝอย (Lymph Capillaries) ต่าง ๆ ที่มารวมตัวกันเป็นหลอดน้ำเหลืองขนาดใหญ่ ก่อนไหลเข้าสู่ท่อน้ำเหลืองหลักของร่างกาย ได้แก่
● ท่อน้ำเหลืองทางด้านซ้าย (Left Lymphatic Duct) หรือท่อน้ำเหลืองทอราซิก (Thoracic Duct) เป็นท่อน้ำเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่รับน้ำเหลืองจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ยกเว้นบริเวณทรวงอกขวาแขนขวาและส่วนขวาของหัวกับคอ ก่อนไหลเข้าหลอดเลือดดำที่บริเวณใกล้หัวใจ
● ท่อน้ำเหลืองทางด้านขวา (Right Lymphatic Duct) รับน้ำเหลืองจากส่วนเฉพาะ ได้แก่ ทรวงอกขวา แขนขวา และส่วนของหัวกับคอ ก่อนไหลเข้าสู่หลอดเลือดดำ จนถึงหลอดเลือดดำใหญ่ที่เรียกว่า “เวนาคาวา” (Venacava) และไหลเข้าหาหัวใจ ซึ่งในท้ายที่สุดน้ำเหลืองจะปะปนไปกับเลือดเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิต เพื่อลำเลียงสารต่อไป
หน้าที่
-ระบบน้ำเหลือง มีหน้าที่หลักในการนำของเหลวจากหลอดเลือดฝอยกลับเข้าสู่หลอดเลือดดำของระบบไหลเวียนเลือด ซึ่งท่อน้ำเหลืองจะไม่มีกล้ามเนื้อ ต้องอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบรอบๆ ในการรีดน้ำเหลืองกลับ จึงทำให้การไหลเวียนของน้ำเหลืองช้าและไหลเวียนไม่ดีเท่าการไหลเวียนของเลือด โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย
12. ระบบขับถ่าย (Excretory system)
-เป็นระบบซึ่งทำหน้าที่กำจัดและขับถ่ายของเสียที่เหลือใช้จากการเผาผลาญอาหารในร่างกายเพื่อให้เกิดพลังงานและสะสมพลังงาน นั่นก็คือการกำจัดของเสียที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ซึ่งเรียกว่า
เมแทบอลิซึม (Metabolism)
การขับถ่ายของเสียทางลำไส้ใหญ่
-การย่อยอาหารซึ่งจะสิ้นสุดลงบริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ 5 ฟุต ภายในมี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 นิ้ว
-เนื่องจากอาหารที่ลำไส้เล็กย่อยแล้วจะเป็นของเหลวหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ครึ่งแรกคือดูดซึมของเหลว น้ำ เกลือแร่และน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ในกากอาหาร ส่วนลำไส้ใหญ่ครึ่งหลังจะเป็นที่พักกากอาหารซึ่งมีลักษณะกึ่งของแข็ง ลำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหลอลื่นเพื่อให้อุจจาระเคลื่อนไปตามลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น ถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากเกินไป เนื่องจากกากอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน จะทำให้กากอาหารแข็ง เกิดความลำบากในการขับถ่าย ซึ่งเรียกว่า ท้องผูก
การขับถ่ายของเสียทางปอด
-เราได้ทราบจากเรื่องระบบหายใจแล้วว่า ปอดคืออวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ น้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วจะออกจากเซลล์แพร่เข้าไปในเส้นเลือดแล้วลำเลียงไปยังปอดเกิดการแพร่ของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ถุงลมปอดแล้วเคลื่อนผ่านหลอดลมออกจาก ร่างกายทางจมูก
การขับถ่ายของเสียทางไต
-จากระบบการหมุนเวียนโลหิต เลือดทั้งหมดในร่างกายจะต้องหมุนเวียนผ่านไตโดยนำสารทั่งที่ยังมีประโยชน์และ สารที่ไม่มีประโยชน์แล้วมาที่ไต ของเสียจะถูกไตกำจัดออกมาในรูปปัสสาวะ
ไต มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว มีอยู่ 2 ข้าง ติดอยู่กับด้านหลังของช่องท้องยาวประมาณ 11 เซนติเมตร กว้าง 6 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร ตรงกลางเว้าเป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ ภายในไตมีหน่วยไตเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก
-กระบวนการขับถ่าย เริ่มจากหลอดเลือดที่นำเลือดมาจากหัวใจ เลือดและสารที่มากับเลือดจะถูกส่งเข้าหน่วยไต หน่วยไตจะกรองสารที่มีอยู่ในเลือด สารที่ยังมีประโยชน์จะถูกหน่วยไตดูดซึมกลับคืนมา ส่วนของเสีย อื่น ๆ จะถูกส่งไปตามหลอดไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะซึ่งมีความจุประมาณครึ่งลิตร ในวันหนึ่งๆคนเราจะขับถ่ายปัสสาวะออกมาประมาณ 1-1.5 ลิตร ปริมาณการขับถ่ายในแต่ละวันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
-ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
-ชนิดของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น แตงโม เหล้า ทำให้การขับถ่ายปัสสาวะมากขึ้น
-การเสียน้ำของร่างกายทางอื่น
การขับถ่ายของเสียทางผิวหนัง
-ในผิวหนังของคนเราสามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน ซึ่งสิ่งที่ถูกขับออกมาคือ เหงื่อเหงื่อที่ถูกขับออกมาทางต่อมเหงื่อ ในเหงื่อประกอบด้วยน้ำประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์ สารอื่น ๆ อีก 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นพวกเกลือโซเดียมคลอไรด์ สารอินทรีย์ พวกยูเรีย และมีน้ำตาล แอมโมเนีย กรดแลคตริก และกรดอะมิโนอีกเล็กน้อย
-ประโยชน์ของการระเหยของเหงื่อ คือ เป็นการปรับระดับอุณหภูมิของร่างกาย โดยระบายความร้อนไปกับเหงื่อที่ระเหย ปริมาณเหงื่อที่ถูกขับออกมาจะเกิดขึ้นได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 32 องศาเซลเซียส